นายกเทศมนตรี
ปลัดเทศบาล
ข้อมูลทั่วไป
ข่าวประชาสัมพันธ์
การปฏิสัมพันธ์ข้อมูล
แผนการดำเนินงานประจำปี
การให้บริการ
แผนการใช้จ่ายงบประมาณประจำปี
การจัดซื้อจัดจ้างหรือการจัดหาพัสดุ
การบริหารและพัฒนาทรัพยากรบุคคล
การจัดการเรื่องร้องเรียนการทุจริตและประพฤติมิชอบ
การจัดการเรื่องร้องเรียน-ร้องทุกข์
การเปิดโอกาสให้เกิดการมีส่วนร่วม
การป้องกันการทุจริต
แผนป้องกันการทุจริต
มาตรการส่งเสริมความโปร่งใสและป้องกันการทุจริตภายในหน่วยงาน
แผนพัฒนาท้องถิ่น
เทศบัญญัติ
สภาพทั่วไปและข้อมูลพื้นฐาน
หมู่บ้านป่าเมี่ยง หมู่ที่ ๑ ตำบลเจริญราษฎร์ อำเภอแม่ใจ จังหวัดพะเยา ได้ก่อตั้งเมื่อประมาณปี พ.ศ. ๒๕๐๕ ตอนนั้นขึ้นอยู่กับอำเภอพาน จังหวัดเชียงราย ต่อมาในปี ๒๕๒๒ เมื่ออำเภอพะเยา ได้รับการยกฐานะเป็นจังหวัดพะเยา จึงขึ้นอยู่กับอำเภอแม่ใจ จังหวัดพะเยา โดยประชากรของหมู่บ้าน เป็นชาวเขาเผ่าลีซอ ก่อนนั้นอาชีพหลักของบ้านป่าเมี่ยงคือการปลูกฝิ่นเนื่องจากที่ตั้งของหมู่บ้านเป็นที่ราบบนภูเขา ต่อมาทางราชการเข้าไปพัฒนาอาชีพอื่นเพื่อทดแทนการปลูกฝิ่น จึงได้เลิกการปลูกฝิ่นไปปลูกพืช อื่นแทน เช่น กาแฟ ลิ้นจี่ ขิง
บ้านป่าเมี่ยง ตั้งอยู่หมู่ที่ ๑ ต.เจริญราษฎร์ อ.แม่ใจ จ.พะเยา อยู่ห่างจากที่ว่าการอำเภอแม่ใจ ไปทางทิศตะวันตกเฉียงเหนือ ประมาณ ๑๕ กิโลเมตร มีพื้นที่ทั้งหมด ประมาณ ๔๐๐ ไร่ เป็นพื้นที่ ทำการเกษตร ๓๐๐ ไร่ พื้นที่อยู่อาศัย ๑๐๐ ไร่ และมีอาณาเขตติดต่อ ดังนี้
ทิศเหนือ ติดต่อกับเขต อำเภอพาน จังหวัดเชียงราย
ทิศใต้ ติดต่อกับบ้านผาแดง หมู่ที่ ๑๐ ตำบลศรีถ้อย
ทิศตะวันออก ติดต่อกับบ้านใหม่สันคือ หมู่ที่ ๗ ตำบลป่าแฝก อำเภอแม่ใจ
ทิศตะวันตก ติดต่อกับเขตอำเภอวังเหนือ จังหวัดลำปาง
- ถนนเส้นทางติดต่อกับหมู่บ้านอื่น เป็นถนนดิน
- ถนนเส้นทางหลักภายในหมู่บ้านเป็นถนนดิน ใช้การได้เป็นสะดวกในบางฤดูกาล
- หมู่บ้านมีถนนตลอดเส้นทางไปยังอำเภอหรือชุมชนที่ใกล้ที่สุดที่คนในหมู่บ้าน ส่วนมากไปซื้อ/ขายของกินของใช้ หรือติดต่อธุระ
- เส้นทางที่สะดวกที่สุดจากชุมชนของหมู่บ้านถึงอำเภอหรือชุมชนที่ใกล้ที่สุด รวมเป็นระยะทาง ๒๒ กิโลเมตร แยกเป็นลาดยาง ยาว ๑๐ กิโลเมตร ถนนลูกรัง ๑๒ กิโลเมตร
- ใช้เวลาเดินทางจากหมู่บ้านไปยังอำเภอ/เขตหรือชุมชนที่ใกล้ที่สุดเพียงเที่ยวเดียว (ไม่นับเที่ยวกลับ) ด้วยพาหนะที่นิยมกัน ใช้เวลา ๔๕ นาที
- ขนาดพื้นที่ของหมู่บ้านมีพื้นที่ทั้งหมด ๘๐๐ ไร่
มีจำนวนครัวเรือนทั้งหมด มี ๖๘ ครัวเรือน มีประชากรทั้งสิ้น ๑๖๓ คน แยกเป็น
ชาย ๗๙ คน
หญิง ๘๔ คน
- นับถือผีบรรพบุรุษ
- ใช้ภาษาลีซอ
- ความเชื่อ
มีการไหว้บรรพบุรุษ (เลี้ยงผี บรรพบุรุษ) ระหว่างเดือนพฤษภาคม - มิถุนายน ของทุกปี เพื่อให้อยู่ร่มเย็นเป็นสุข
- ขนบธรรมเนียมประเพณี
ประเพณีไว้เจ้า (ประมาณเดือนพฤศจิกายนของทุกปี)
การประกอบอาชีพ
- อาชีพหลัก การเกษตร (ทำสวน ทำนา) จำนวน ๖๐ ครัวเรือน
- รับจ้าง/บริการ จำนวน ๘ ครัวเรือน
หมู่บ้านพิจิตรพัฒนา หมู่ที่ ๒ ตำบลเจริญราษฎร์ อำเภอแม่ใจ จังหวัดพะเยา ได้ก่อตั้งเมื่อประมาณปี พ.ศ. ๒๕๐๐ โดยการอพยพย้ายถิ่นฐานของประชาชนจากจังหวัดพิจิตรเป็นส่วนใหญ่ โดยการชักชวนของเครือญาติ และพี่น้องติดตามกันมาประกอบอาชีพทำสวนทำไร่ และได้จัดตั้งหมู่บ้านเป็นทางการใน พ.ศ. ๒๕๐๐ ซึ่งเข้ามาบุกเบิกก่อตั้งครั้งแรก คือ นายจรูญ ธนะสังข์ ซึ่งขณะนั้นดำรงตำแหน่งนายอำเภอแม่ใจ จังหวัดเชียงราย (ขณะนั้นอำเภอแม่ใจขึ้นอยู่กับจังหวัดเชียงราย) ได้อพยพเข้ามาอยู่ก่อน และได้ชักชวนญาติพี่น้องเข้ามาอยู่
บ้านพิจิตรพัฒนา ตั้งอยู่หมู่ที่ ๒ ต.เจริญราษฎร์ อ.แม่ใจ จ.พะเยา อยู่ห่างจากที่ว่าการอำเภอ แม่ใจไปทางทิศใต้ประมาณ ๔ กิโลเมตร มีพื้นที่ทั้งหมด ประมาณ ๑,๑๐๐ ไร่ เป็นพื้นที่ทำการเกษตร ๙๐๐ ไร่ พื้นที่อยู่อาศัย ๒๐๐ ไร่ และมีอาณาเขตติดต่อ ดังนี้
ทิศเหนือ ติดต่อกับ บ้านสันดอนแก้ว หมู่ที่ ๘ ตำบลเจริญราษฎร์ อำเภอแม่ใจ จังหวัดเพะเยา
ทิศใต้ ติดต่อกับบ้านต้นผึ้ง หมู่ที่ ๓ ตำบลเจริญราษฎร์
ทิศตะวันออก ติดต่อกับบ้านสันดอนแก้ว หมู่ที่ ๘ ตำบลเจริญราษฎร์ อำเภอแม่ใจ
ทิศตะวันตก ติดต่อกับบ้านต้นผึ้ง หมู่ที่ ๓ ตำบลเจริญราษฎร์
- ถนนเส้นทางติดต่อกับหมู่บ้านอื่น เป็นถนนลาดยาง
- ถนนเส้นทางหลักภายในหมู่บ้านเป็นถนนคอนกรีต ใช้การได้ดีตลอดทั้งปี
- หมู่บ้านมีถนนตลอดเส้นทางไปยังอำเภอหรือชุมชนที่ใกล้ที่สุดที่คนในหมู่บ้าน ส่วนมากไปซื้อ/ขายของกินของใช้ หรือติดต่อธุระ
- เส้นทางที่สะดวกที่สุดจากชุมชนของหมู่บ้านถึงอำเภอหรือชุมชนที่ใกล้ที่สุด รวมเป็นระยะทาง เป็นลาดยางยาว ๔ กิโลเมตร
- ใช้เวลาเดินทางจากหมู่บ้านไปยังอำเภอ/เขตหรือชุมชนที่ใกล้ที่สุดเพียงเที่ยวเดียว (ไม่นับเที่ยวกลับ)ด้วยพาหนะที่นิยมกัน ใช้เวลา ๑๐ นาที
- ขนาดพื้นที่ของหมู่บ้าน มีพื้นที่ทั้งหมด ๑,๑๐๐ ตารางกิโลเมตร
มีจำนวนครัวเรือนทั้งหมด ๕๙ ครัวเรือน มีประชากรทั้งสิ้น ๑๓๔ คน แยกเป็น
ชาย ๖๙ คน
หญิง ๖๕ คน
- นับถือศาสนาพุทธ
- ใช้ภาษาไทย (ภาคกลาง)
- ความเชื่อ
มีการไหว้บรรพบุรุษ (เลี้ยงผีปู่ย่า พระภูมิเจ้าที่) ระหว่างเดือนพฤษภาคม-มิถุนายน ของทุกปี เพื่อให้อยู่ร่มเย็นเป็นสุข
- ขนบธรรมเนียมประเพณี
ประเพณีรดน้ำดำหัวผู้สูงอายุ (วันปี๋ใหม่เมืองของทุกปี)
ประเพณีลอยกระทง (เดือนยี่เป็งของทุกปี)
ประเพณีเข้า – ออกพรรษา (เดือนกรกฎาคม และตุลาคมของทุกปี)
การประกอบอาชีพ
- อาชีพหลัก การเกษตร (ทำสวน ทำนา) จำนวน ๓๕ ครัวเรือน
- รับราชการ จำนวน ๖ ครัวเรือน
- รับจ้าง/บริการ จำนวน ๘ ครัวเรือน
- ค้าขาย จำนวน ๑๐ ครัวเรือน
หมู่บ้านต้นผึ้ง หมู่ที่ ๓ ตำบลเจริญราษฎร์ อำเภอแม่ใจ จังหวัดพะเยา ได้ก่อตั้งเมื่อประมาณปี พ.ศ. ๒๕๒๖ เดิมทีนั้นรวมอยู่กับบ้านห้วยเจริญราษฎร์ หมู่ที่ ๔ แต่เนื่องจากเป็นหมู่บ้านที่มีจำนวนประชากร และครัวเรือนมาก ทำให้ยากต่อการปากครองจึงได้ทำการขอแยกหมู่บ้าน ในสมัยที่นายจันทร์แก้ว อานนท์ เป็นกำนันตำบลป่าแฝก (ขณะนั้นยังรวมอยู่กับตำบลป่าแฝก) เป็นบ้านต้นผึ้ง หมู่ที่ ๑๕ ตำบล ป่าแฝก โดยมีแนวเขตแบ่งหมู่บ้านโดยยึดเอาลำเหมืองจากฝายต้นผึ้งซึ่งตัดผ่านหมู่บ้านเป็นแนวเขตระหว่างบ้านเดิม คือ บ้านห้วยเจริญราษฎร์อยู่ทางทิศใต้ลำเหมือง ส่วนบ้านต้นผึ้งอยู่ทางทิศเหนือลำเหมือง ต่อมาเมื่อมีการตั้งตำบลเจริญราษฎร์ บ้านต้นผึ้งจึงขึ้นอยู่กับตำบลเจริญราษฎร์ และเป็นหมู่ที่ ๓ โดยมีนายดี พฤกษาไพบูลย์ เป็นผู้ใหญ่บ้านคนแรก โดยมีผู้นำปกครองหมู่บ้านติดต่อกันมา คือ
๑. นายดี พฤกษาไพบูลย์
๒. นายผัด ก๋าใจ
๓. นายไสว บุญเกิด
๔. นายสำราญ จักป้อ
บ้านต้นผึ้ง ตั้งอยู่หมู่ที่ ๓ ต.เจริญราษฎร์ อ.แม่ใจ จ.พะเยา อยู่ห่างจากที่ว่าการอำเภอแม่ใจ ไปทางทิศใต้ประมาณ ๒ กิโลเมตร มีพื้นที่ทั้งหมด ประมาณ ๒,๕๐๐ ไร่ เป็นพื้นที่ทำการเกษตร ๒,๒๕๐ ไร่ พื้นที่อยู่อาศัย ๒๕๐ ไร่ และมีอาณาเขตติดต่อ ดังนี้
ทิศเหนือ ติดต่อกับ บ้านบ้านพิจิตรพัฒนาหมู่ที่ ๒ ตำบลเจริญราษฎร์ อำเภอแม่ใจ
ทิศใต้ ติดต่อกับบ้านห้วยเจริญราษฎร์ หมู่ที่ ๔ ตำบลเจริญราษฎร์
ทิศตะวันออก ติดต่อกับสันสลี หมู่ที่ ๗ ตำบลเจริญราษฎร์ อำเภอแม่ใจ
ทิศตะวันตก ติดต่อกับบ้านป่าเมี้ยง หมู่ที่ ๑ ตำบลเจริญราษฎร์
- ถนนเส้นทางติดต่อกับหมู่บ้านอื่น เป็นถนนลาดยาง
- ถนนเส้นทางหลักภายในหมู่บ้านเป็นถนนคอนกรีต ใช้การได้ดีตลอดทั้งปี
- หมู่บ้านมีถนนตลอดเส้นทางไปยังอำเภอหรือชุมชนที่ใกล้ที่สุดที่คนในหมู่บ้าน ส่วนมาก ไปซื้อ/ขาย ของกินของใช้ หรือติดต่อธุระ
- เส้นทางที่สะดวกที่สุดจากชุมชนของหมู่บ้านถึงอำเภอหรือชุมชนที่ใกล้ที่สุด รวมเป็นระยะทาง เป็นลาดยางยาว ๒ กิโลเมตร
- ใช้เวลาเดินทางจากหมู่บ้านไปยังอำเภอ/เขตหรือชุมชนที่ใกล้ที่สุดเพียงเที่ยวเดียว (ไม่นับเที่ยวกลับ) ด้วยพาหนะที่นิยมกัน ใช้เวลา ๑๐ นาที
- ขนาดพื้นที่ของหมู่บ้าน มีพื้นที่ทั้งหมด ๒,๕๐๐ ตารางกิโลเมตร
มีจำนวนครัวเรือนทั้งหมด ๓๕๒ ครัวเรือน มีประชากรทั้งสิ้น ๘๔๔ คน แยกเป็น
ชาย ๓๙๘ คน
หญิง ๔๔๖ คน
- นับถือศาสนาพุทธ
- ใช้ภาษาไทย (ภาคกลาง)
- ความเชื่อ
มีการไหว้บรรพบุรุษ (เลี้ยงผีปู่ย่า พระภูมิเจ้าที่ ) ระหว่างเดือนพฤษภาคม - มิถุนายนของทุกปี เพื่อให้อยู่ร่มเย็นเป็นสุข
- ขนบธรรมเนียมประเพณี
ประเพณีรดน้ำดำหัวผู้สูงอายุ (วันปี๋ใหม่เมืองของทุกปี)
ประเพณีลอยกระทง (เดือนยี่เป็งของทุกปี)
ประเพณีเข้า - ออกพรรษา (เดือนกรกฎาคม และตุลาคมของทุกปี)
การประกอบอาชีพ
- อาชีพหลัก การเกษตร (ทำสวน ทำนา) จำนวน ๒๔๕ ครัวเรือน
- รับราชการ จำนวน ๒๔ ครัวเรือน
- รับจ้าง/บริการ จำนวน ๕๖ ครัวเรือน
- ค้าขาย จำนวน ๒๗ ครัวเรือน
หมู่บ้านห้วยเจริญราษฎร์ หมู่ที่ ๔ ตำบลเจริญราษฎร์ อำเภอแม่ใจ จังหวัดพะเยา ได้ก่อตั้งเมื่อประมาณปี พ.ศ. ๒๔๐๙ โดยการอพยพย้ายถิ่นฐานของประชาชนจากจังหวัดลำปางเป็นส่วนใหญ่ โดยการชักชวนของเครือญาติ และพี่น้องติดตามกันมาประกอบอาชีพโดยเดินทางขึ้นมาทางทิศเหนือ เพื่อหาที่อยู่ ที่กินใหม่ที่เพียงพอต่อการทำมาหากิน เดินทางมาจนถึงที่ตั้งหมู่บ้านในปัจจุบันซึ่งมีความอุดมสมบูรณ์ มีลำห้วยไหลผ่านถึง ๓ สาย คือ ลำห้วยต้นยาง ห้วยคอกหมู และห้วยเฮี้ย จึงได้ตั้งถิ่นฐานอยู่ที่นี้ โดยได้ตั้งผู้ปกครองหมู่บ้าน คือ จ้าวแสนปิง กันธิ
เดิมทีนั้นหมู่บ้านแห่งนี้ชื่อว่าบ้าน “ห้วยคอกหมู” เหตุเนื่องจากว่าหมู่บ้านตั้งอยู่บนเส้นทางผ่านของพ่อค้าหมู่ที่จะนำหมูไปขายต่างจังหวัดจึงนำหมูมาพักค้างที่นี่ครั้งละหลายๆ วัน เนื่องจากการคมนาคมค่อนข้างลำบากพ่อค้าหมู่จึงได้สร้างคอกหมูริเวรริมห้วย เพื่อป้องกันการลักขโมย และป้องกันสัตว์ใหญ่มากิน ประชาชนจึงตั้งหมู่บ้านว่า “ห้วยคอกหมู” ต่อมาในปี ๒๕๑๑ นายชื่น โพธิพรหม กำนันตำบลป่าแฝก (ขณะนั้นยังขึ้นอยู่กับตำบลป่าแฝก) ได้เสนอขอเปลี่ยนชื่อหมู่บ้านจาก “ห้วยคอกหมู” เป็น “ห้วยเจริญราษฎร์” และได้รับการอนุมัติให้เปลี่ยนชื่อเป็นบ้าน “ห้วยเจริญราษฎร์” ตั้งแต่นั้นมา และต่อมาในปี ๒๕๒๗ ตำบลป่าแฝก ได้ถูกจัดตั้งเป็นตำบลเจริญราษฎร์ โดยมีบ้านห้วยเจริญราษฎร์ เป็นหมู่ที่ ๔ ของตำบลเจริญราษฎร์
บ้านห้วยเจริญราษฎร์ ตั้งอยู่หมู่ที่ ๔ ต.เจริญราษฎร์ อ.แม่ใจ จ.พะเยา อยู่ห่างจากที่ว่าการอำเภอแม่ใจไปทางทิศใต้ประมาณ ๒ กิโลเมตร มีพื้นที่ทั้งหมด ประมาณ ๔,๕๐๐ ไร่ เป็นพื้นที่ ทำการเกษตร ๓,๗๕๐ ไร่ พื้นที่อยู่อาศัย ๗๕๐ ไร่ โดยส่วนที่ราบลุ่มใช้พื้นที่ทำนา ๒,๐๐๐ ไร่ ส่วนที่เป็นที่ราบเชิงเขา ใช้เป็นที่ทำสวน ๑,๗๕๐ ไร่ (สวนลิ้นจี่) และมีอาณาเขตติดต่อ ดังนี้
ทิศเหนือ ติดต่อกับ บ้านต้นผึ้ง หมู่ที่ ๒ ตำบลเจริญราษฎร์
ทิศใต้ ติดต่อกับบ้านสันต้นม่วง หมู่ที่ ๕ และบ้านสันม่วงใหม่ หมู่ที่ ๖
ทิศตะวันออก ติดต่อกับหนองเล้งทราย
ทิศตะวันตก ติดต่อกับพื้นที่อุทยานแห่งชาติดอยหลวง
- ถนนเส้นทางติดต่อกับหมู่บ้านอื่น เป็นถนนลาดยาง
- ถนนเส้นทางหลักภายในหมู่บ้านเป็นถนนคอนกรีต ใช้การได้ดีตลอดทั้งปี
- หมู่บ้านมีถนนตลอดเส้นทางไปยังอำเภอหรือชุมชนที่ใกล้ที่สุดที่คนในหมู่บ้าน ส่วนมากไปซื้อ/ขายของกินของใช้ หรือติดต่อธุระ
- เส้นทางที่สะดวกที่สุดจากชุมชนของหมู่บ้านถึงอำเภอหรือชุมชนที่ใกล้ที่สุด รวมเป็นระยะทาง เป็นลาดยางยาว ๒ กิโลเมตร
- ใช้เวลาเดินทางจากหมู่บ้านไปยังอำเภอ/เขตหรือชุมชนที่ใกล้ที่สุดเพียงเที่ยวเดียว (ไม่นับเที่ยวกลับ) ด้วยพาหนะที่นิยมกัน ใช้เวลา ๑๐ นาที
- ขนาดพื้นที่ของหมู่บ้าน มีพื้นที่ทั้งหมด ๔,๕๐๐ ไร่
มีจำนวนครัวเรือนทั้งหมด ๓๔๙ ครัวเรือน มีประชากรทั้งสิ้น ๘๘๘ คน แยกเป็น
ชาย ๔๒๙ คน
หญิง ๔๕๙ คน
- นับถือศาสนาพุทธ
- ใช้ภาษาไทย (ภาคกลาง)
- ความเชื่อ
มีการไหว้บรรพบุรุษ (เลี้ยงผีปู่ย่า พระภูมิเจ้าที่ ) ระหว่างเดือนพฤษภาคม - มิถุนายนของทุกปี เพื่อให้อยู่ร่มเย็นเป็นสุข
- ขนบธรรมเนียมประเพณี
ประเพณีรดน้ำดำหัวผู้สูงอายุ (วันปี๋ใหม่เมืองของทุกปี)
ประเพณีลอยกระทง (เดือนยี่เป็งของทุกปี)
ประเพณีเข้า - ออกพรรษา (เดือนกรกฎาคม และตุลาคมของทุกปี)
การประกอบอาชีพ
- อาชีพหลัก การเกษตร (ทำนา ทำสวน) จำนวน ๒๑๓ ครัวเรือน
- รับราชการ จำนวน ๑๑ ครัวเรือน
- รับจ้าง/บริการ จำนวน ๑๘ ครัวเรือน
- ค้าขาย จำนวน ๗ ครัวเรือน
หมู่บ้านสันต้นม่วง หมู่ที่ ๕ ตำบลเจริญราษฎร์ อำเภอแม่ใจ จังหวัดพะเยา ได้ก่อตั้งเมื่อประมาณ ๑๐๐ ปีที่ผ่านมา เดิมทีนั้นขึ้นอยู่กับตำบลป่าแฝก อำเภอพาน จังหวัดเชียงราย ต่อมาเมื่อมีการจัดตั้งจังหวัดพะเยา จึงมาขึ้นอยู่กับตำบลเจริญราษฎร์ อำเภอแม่ใจ จังหวัดพะยา โดยพื้นที่ตั้งหมู่บ้านมี ต้นมะม่วงป่าขึ้นอยู่เต็มไปหมดเมื่อประชาชนอพยพเข้ามาตั้งหมู่บ้านจึงเรียกชื่อหมู่บ้านว่าบ้านสันต้นม่วง ตามสถานที่ที่เต็มไปด้วยป่ามะม่วง โดยมีผู้นำปกครองหมู่บ้านคนปัจจุบัน คือ นายประเสริฐ ไชยมงคล (กำนัน)
บ้านสันต้นม่วง หมู่ที่ ๕ ตำบลเจริญราษฎร์ อ.แม่ใจ จ.พะเยา อยู่ห่างจากที่ว่าการอำเภอแม่ใจ ไปทางทิศตะวันออกเฉียงเหนือ ประมาณ ๓ กิโลเมตร มีพื้นที่ทั้งหมดประมาณ ๔,๐๐๐ ไร่ เป็นพื้นที่ ทำการเกษตร ๓,๐๐๐ ไร่ พื้นที่อยู่อาศัย ๘๐๐ ไร่ พื้นที่สาธารณะประโยชน์ ๒๐๐ ไร่ ประชากรส่วนใหญ่ของหมู่บ้านประกอบอาชีพทางการเกษตร โดยพื้นที่การเกษตรอยู่ล้อมรอบหมู่บ้านทั้งหมด (พื้นที่นา) และมีอาณาเขตติดต่อ ดังนี้
ทิศเหนือ ติดต่อกับ บ้านห้วยเจริญราษฎร์ หมู่ที่ ๔ ตำบลเจริญราษฎร์
ทิศใต้ ติดต่อกับบ้านสันติสุข หมู่ที่ ๙ ตำบลศรีถ้อย
ทิศตะวันออก ติดต่อกับบ้านสันสลี หมู่ที่ ๗
ทิศตะวันตก ติดต่อกับถนนพหลโยธิน
- ถนนเส้นทางติดต่อกับหมู่บ้านอื่น เป็นถนนลาดยาง
- ถนนเส้นทางหลักภายในหมู่บ้านเป็นถนนคอนกรีต ใช้การได้ดีตลอดทั้งปี
- หมู่บ้านมีถนนตลอดเส้นทางไปยังอำเภอหรือชุมชนที่ใกล้ที่สุดที่คนในหมู่บ้าน ส่วนมาก ไปซื้อ/ขาย ของกินของใช้ หรือติดต่อธุระ
- เส้นทางที่สะดวกที่สุดจากชุมชนของหมู่บ้านถึงอำเภอหรือชุมชนที่ใกล้ที่สุด รวมเป็นระยะทาง เป็นลาดยางยาว ๑ กิโลเมตร
- ใช้เวลาเดินทางจากหมู่บ้านไปยังอำเภอ/เขตหรือชุมชนที่ใกล้ที่สุดเพียงเที่ยวเดียว (ไม่นับเที่ยวกลับ) ด้วยพาหนะที่นิยมกัน ใช้เวลา ๕ นาที
- ขนาดพื้นที่ของหมู่บ้านมีพื้นที่ทั้งหมด ๔,๐๐๐ ตารางกิโลเมตร
มีจำนวนครัวเรือนทั้งหมด ๒๒๕ ครัวเรือน มีประชากรทั้งสิ้น ๕๘๖ คน แยกเป็น
ชาย ๓๐๘ คน
หญิง ๒๗๘ คน
- นับถือศาสนาพุทธ
- ใช้ภาษาไทย (ภาคกลาง)
- ความเชื่อ
มีการไหว้บรรพบุรุษ (เลี้ยงผีปู่ย่า พระภูมิเจ้าที่ ) ระหว่างเดือนพฤษภาคม - มิถุนายนของทุกปี เพื่อให้อยู่ร่มเย็นเป็นสุข
- ขนบธรรมเนียมประเพณี
ประเพณีรดน้ำดำหัวผู้สูงอายุ (วันปี๋ใหม่เมืองของทุกปี)
ประเพณีลอยกระทง (เดือนยี่เป็งของทุกปี)
ประเพณีเข้า - ออกพรรษา (เดือนกรกฎาคม และตุลาคมของทุกปี)
การประกอบอาชีพ
- อาชีพหลัก การเกษตร (ทำสวน ทำนา) จำนวน ๑๗๗ ครัวเรือน
- รับราชการ จำนวน ๑๙ ครัวเรือน
- รับจ้าง/บริการ จำนวน ๑๑ ครัวเรือน
- ค้าขาย จำนวน ๑๘ ครัวเรือน
หมู่บ้านสันต้นม่วงใหม่ หมู่ที่ ๖ เดิมขึ้นอยู่กับบ้านสันต้นม่วง หมู่ที่ ๕ ตำบลเจริญราษฎร์ อำเภอแม่ใจ จังหวัดพะเยา ได้แยกออกมาก่อตั้งเป็นหมู่บ้านใหม่เมื่อประมาณปี พ.ศ. ๒๕๒๙ เนื่องจากเป็นหมู่บ้านที่มีจำนวนประชากร และครัวเรือนมาก และมีถนนพหลโยธิน (นครสวรรค์ - เชียงราย) ตัดผ่าน ทำให้ยากต่อการปากครอง จึงได้ทำการขอแยกหมู่บ้านโดยคนกลุ่มแรกที่เข้ามาอยู่ในพื้นหมู่บ้านในปัจจุบัน คือ นายวัน ใจยา, นายน้อย ใจปัญญา, นายหลง ใจยา, นายจันทร์ วะรีวะราช เป็นต้น แต่กลุ่มที่ริเริ่มก่อตั้งหมู่บ้านใหม่ คือ นายปัน ใจยะ, นายมี ชัยยา, นายปิง อะปาลา และนายโท ทองยะ เป็นต้น โดยมีผู้นำปกครองหมู่บ้านติดต่อกันมา คือ
๑. นายปัน ใจยะ พ.ศ. ๒๕๒๙ – ๒๕๓๔
๒. นายผัด ก๋าใจ พ.ศ. ๒๕๓๔ – ๒๕๓๕
๓. นายปัน ใจยะ พ.ศ. ๒๕๓๕ – ๒๕๕๘
บ้านสันต้นม่วงใหม่ หมู่ที่ ๖ ต.เจริญราษฎร์ อ.แม่ใจ จ.พะเยา อยู่ห่างจากที่ว่าการอำเภอแม่ใจ ไปทางทิศใต้ประมาณ ๑ กิโลเมตร มีพื้นที่ทั้งหมดประมาณ ๗,๐๐๐ ไร่ เป็นพื้นที่ทำการเกษตร ๖,๐๐๐ ไร่ พื้นที่อยู่อาศัย ๑,๒๕๐ ไร่ ภูมิประเทศเป็นลักษณะเป็นป่าที่ราบเชิงเขา ไม่มีแหล่งน้ำ แต่มีน้ำตกจากเขาผีปันน้ำ ซึ่งจะมีน้ำตลอดปี แต่อยู่ห่างจากหมู่บ้านหลายกิโลเมตรและมีอาณาเขตติดต่อ ดังนี้ ไปทางทิศตะวันออกเฉียงเหนือ ประมาณ ๓ กิโลเมตร มีพื้นที่ทั้งหมดประมาณ ๔,๐๐๐ ไร่ เป็นพื้นที่ ทำการเกษตร ๓,๐๐๐ ไร่ พื้นที่อยู่อาศัย ๘๐๐ ไร่ พื้นที่สาธารณะประโยชน์ ๒๐๐ ไร่ ประชากรส่วนใหญ่ของหมู่บ้านประกอบอาชีพทางการเกษตร โดยพื้นที่การเกษตรอยู่ล้อมรอบหมู่บ้านทั้งหมด (พื้นที่นา) และมีอาณาเขตติดต่อ ดังนี้
ทิศเหนือ ติดต่อกับบ้านห้วยเจริญราษฎร์ หมู่ที่ ๔ ตำบลเจริญราษฎร์ อำเภอแม่ใจ
ทิศใต้ ติดต่อกับบ้านห้วยเจริญราษฎร์ หมู่ที่ ๙ ตำบลศรีถ้อย
ทิศตะวันออก ติดต่อกับสันต้นม่วง หมู่ที่ ๕ ตำบลเจริญราษฎร์ อำเภอแม่ใจ
ทิศตะวันตก ติดต่อกับอุทยานแห่งชาติดอยหลวง
- ถนนเส้นทางติดต่อกับหมู่บ้านอื่น เป็นถนนลาดยาง
- ถนนเส้นทางหลักภายในหมู่บ้านเป็นถนนคอนกรีต ใช้การได้ดีตลอดทั้งปี
- หมู่บ้านมีถนนตลอดเส้นทางไปยังอำเภอหรือชุมชนที่ใกล้ที่สุดที่คนในหมู่บ้าน ส่วนมากไปซื้อ/ขาย ของกินของใช้ หรือติดต่อธุระ
- เส้นทางที่สะดวกที่สุดจากชุมชนของหมู่บ้านถึงอำเภอหรือชุมชนที่ใกล้ที่สุด รวมเป็นระยะทาง เป็นลาดยางยาว ๑ กิโลเมตร
- ใช้เวลาเดินทางจากหมู่บ้านไปยังอำเภอ/เขตหรือชุมชนที่ใกล้ที่สุดเพียงเที่ยวเดียว (ไม่นับเที่ยวกลับ) ด้วยพาหนะที่นิยมกัน ใช้เวลา ๕ นาที
- ขนาดพื้นที่ของหมู่บ้านมีพื้นที่ทั้งหมด ๗,๐๐๐ ตารางกิโลเมตร
มีจำนวนครัวเรือนทั้งหมด ๒๑๖ ครัวเรือน มีประชากรทั้งสิ้น ๓๖๘ คน แยกเป็น
ชาย ๑๗๒ คน
หญิง ๑๙๖ คน
- นับถือศาสนาพุทธ
- ใช้ภาษาไทย (ภาคกลาง)
- ความเชื่อ
มีการไหว้บรรพบุรุษ (เลี้ยงผีปู่ย่า พระภูมิเจ้าที่ ) ระหว่างเดือนพฤษภาคม - มิถุนายนของทุกปี เพื่อให้อยู่ร่มเย็นเป็นสุข
- ขนบธรรมเนียมประเพณี
ประเพณีรดน้ำดำหัวผู้สูงอายุ (วันปี๋ใหม่เมืองของทุกปี)
ประเพณีลอยกระทง (เดือนยี่เป็งของทุกปี)
ประเพณีเข้า - ออกพรรษา (เดือนกรกฎาคม และตุลาคมของทุกปี)
การประกอบอาชีพ
- อาชีพหลัก การเกษตร (ทำสวน ทำนา) จำนวน ๑๑๐ ครัวเรือน
- รับราชการ จำนวน ๕๕ ครัวเรือน
- รับจ้าง/บริการ จำนวน ๓๐ ครัวเรือน
- ค้าขาย จำนวน ๒๑ ครัวเรือน
หมู่บ้านสันสลี หมู่ที่ ๗ ตำบลเจริญราษฎร์ อำเภอแม่ใจ จังหวัดพะเยา ได้ก่อตั้งเมื่อประมาณ ๑๐๐ ปีที่ผ่านมา เดิมทีนั้นเรียกว่าบ้านสันแต้แข้ หมู่ที่ ๕ ตำบลป่าแฝก อำเภอพาน จังหวัดเชียงราย ต่อมาเมื่อมีการจัดตั้งจังหวัดพะเยา จึงขึ้นอยู่กับตำบลเจริญราษฎร์ อำเภอแม่ใจ จังหวัดพะเยา โดยประชากรมาจากบ้านศรีถ้อย อำเภอแม่ใจ ได้นำสัตว์เลี้ยง เช่น วัว ควาย เข้ามาเลี้ยงในบริเวณพื้นที่ตั้งหมู่บ้าน เนื่องจากติดกับหนองเล็งทราย มีการปลูกกระท่อมพักชั่วคราว ต่อมามีการจัดตั้งเป็นบ้านพักอาศัย ในระยะแรกมีประมาณ ๗ ครอบครัว ต่อมาจึงชักชวนญาติพี่น้องเข้ามาเพิ่มขึ้นเรื่อยๆ โดยได้แผ้วถาง เป็นหมู่บ้านในปี พ.ศ. ๒๔๔๖ ต่อมาในปี พ.ศ. ๒๕๑๒ จึงเปลี่ยนชื่อบ้านจาก “สันแต้แข้” มาเป็น บ้าน “สันสลี” ในปัจจุบัน โดยมีผู้นำปกครองหมู่บ้านติดต่อกันมา คือ
๑. นายป่าย ใจมิภักดิ์
๒. นายหวั่น ใจมิภักดิ์
๓. นายเหมย วะรีวะราช
๔. นายถา ภาชนนท์
๕. นายสาม วะรีวะราช
๖. นายย้าย แก้วนา
๗. นางสิงห์ทอง ปันสุวรรณ์ (คนปัจจุบัน)
บ้านสันสลี หมู่ที่ ๗ ตำบลเจริญราษฎร์ อ.แม่ใจ จ.พะเยา อยู่ห่างจากที่ว่าการอำเภอแม่ใจ ไปทางทิศตะวันออกเฉียงเหนือประมาณ ๓ กิโลเมตร มีพื้นที่ทั้งหมดประมาณ ๔,๐๐๐ ไร่ เป็นพื้นที่ ทำการเกษตร ๓,๐๐๐ ไร่ พื้นที่อยู่อาศัย ๘๐๐ ไร่ พื้นที่สาธารณะประโยชน์ ๒๐๐ ไร่ ประชากร ส่วนใหญ่ของหมู่บ้านประกอบอาชีพทางการเกษตร โดยพื้นที่การเกษตรอยู่ล้อมรอบหมู่บ้านทั้งหมด (พื้นที่นา) และมีอาณาเขตติดต่อ ดังนี้
ทิศเหนือ ติดต่อกับ บ้านห้วยเจริญราษฎร์ หมู่ที่ ๔ ตำบลเจริญราษฎร์
ทิศใต้ ติดต่อกับบ้านสันขวาง หมู่ที่ ๒ ตำบลศรีถ้อย
ทิศตะวันออก ติดต่อกับหนองเล็งทราย
ทิศตะวันตก ติดต่อกับบ้านสันต้นม่วง หมู่ที่ ๕ ตำบลเจริญราษฎร์
- ถนนเส้นทางติดต่อกับหมู่บ้านอื่น เป็นถนนลาดยาง
- ถนนเส้นทางหลักภายในหมู่บ้านเป็นถนนคอนกรีต ใช้การได้ดีตลอดทั้งปี
- หมู่บ้านมีถนนตลอดเส้นทางไปยังอำเภอหรือชุมชนที่ใกล้ที่สุดที่คนในหมู่บ้าน ส่วนมากไปซื้อ/ขาย ของกินของใช้ หรือติดต่อธุระ
- เส้นทางที่สะดวกที่สุดจากชุมชนของหมู่บ้านถึงอำเภอหรือชุมชนที่ใกล้ที่สุด รวมเป็นระยะทาง เป็นลาดยางยาว ๕ กิโลเมตร
- ใช้เวลาเดินทางจากหมู่บ้าน ไปยังอำเภอ/เขตหรือชุมชนที่ใกล้ที่สุดเพียงเที่ยวเดียว (ไม่นับเที่ยวกลับ) ด้วยพาหนะที่นิยมกัน ใช้เวลา ๑๐ นาที
- ขนาดพื้นที่ของหมู่บ้าน มีพื้นที่ทั้งหมด ๔,๐๐๐ ตารางกิโลเมตร
มีจำนวนครัวเรือนทั้งหมด ๑๓๐ ครัวเรือน มีประชากรทั้งสิ้น ๓๘๙ คน แยกเป็น
ชาย ๒๐๐ คน
หญิง ๑๘๙ คน
- นับถือศาสนาพุทธ
- ใช้ภาษาไทย (ภาคกลาง)
- ความเชื่อ
มีการไหว้บรรพบุรุษ (เลี้ยงผีปู่ย่า พระภูมิเจ้าที่ ) ระหว่างเดือนพฤษภาคม - มิถุนายนของทุกปี เพื่อให้อยู่ร่มเย็นเป็นสุข
- ขนบธรรมเนียมประเพณี
ประเพณีรดน้ำดำหัวผู้สูงอายุ (วันปี๋ใหม่เมืองของทุกปี)
ประเพณีลอยกระทง (เดือนยี่เป็งของทุกปี)
ประเพณีเข้า - ออกพรรษา (เดือนกรกฎาคม และตุลาคมของทุกปี)
การประกอบอาชีพ
- อาชีพหลัก การเกษตร (ทำสวน ทำนา) จำนวน ๑๑๖ ครัวเรือน
- รับราชการ จำนวน ๔ ครัวเรือน
- รับจ้าง/บริการ จำนวน ๘ ครัวเรือน
- ค้าขาย จำนวน ๒ ครัวเรือน
หมู่บ้านสันดอนแก้ว หมู่ที่ ๘ ตำบลเจริญราษฎร์ อำเภอแม่ใจ จังหวัดพะเยา ได้ก่อตั้งเมื่อประมาณปี พ.ศ. ๒๕๑๘ เดิมทีนั้นก่อนที่จะตั้งเป็นหมู่บ้านอย่างเป็นทางการมีชื่อเรียกกันว่าบ้าน “สันจกปก” เนื่องจากที่ตั้งหมู่บ้านเป็นที่เนินลักษณะหลังเต่า ก่อนที่จะขึ้นอยู่กับตำบลเจริญราษฎร์ หมู่บ้านสันดอนแก้วเป็นหมู่บ้านหนึ่งของตำบลป่าแฝก แต่เมื่ออำเภอแม่ใจได้ทำการจัดตั้งตำบลเจริญราษฎร์ จึงได้ดึงบ้านสันดอนแก้วขึ้นอยู่กับตำบลเจริญราษฎร์เพื่อให้หมู่บ้านเพียงพอต่อการจัดตั้งตำบล โดยมีผู้นำปกครองหมู่บ้านติดต่อกันมา คือ
๑. นายก้อน คำปา
๒. นายเถิง พรมมา
๓. นายอินจันทร์ ใหม่จันทร์
๔. นายชัชวาลย์ นามลังกา
๕. นายณรงค์ ก๋าใจ
๖. นายแดง ใหลดี
๗. นายวุฒิชัย จันทร์เฟย
บ้านสันดอนแก้ว ตั้งอยู่หมู่ที่ ๘ ต.เจริญราษฎร์ อ.แม่ใจ จ.พะเยา อยู่ห่างจากที่ว่าการอำเภอแม่ใจ ไปทางทิศใต้ประมาณ ๕ กิโลเมตร มีพื้นที่ทั้งหมดประมาณ ๒,๐๘๐ ไร่ เป็นพื้นที่ทำการเกษตร ๑,๒๘๐ ไร่ พื้นที่อยู่อาศัย ๑๘๒ ไร่ พื้นที่สาธารณะประโยชน์ ๖๘ ไร่ ประชากรส่วนใหญ่ของหมู่บ้านประกอบอาชีพทางการเกษตร โดยพื้นที่การเกษตรอยู่ท้ายหมู่บ้านด้านทิศตะวันออกไปจดหนองเล็งทราย และมีอาณาเขตติดต่อ ดังนี้
ทิศเหนือ ติดต่อกับ บ้านป่าแฝกกลาง หมู่ที่ ๒ ตำบลป่าแฝก อำเภอแม่ใจ
ทิศใต้ ติดต่อกับบ้านพิจิตรพัฒนา หมู่ที่ ๒ ตำบลเจริญราษฎร์
ทิศตะวันออก ติดต่อกับดงบุญนาค หมู่ที่ ๗ ตำบลบ้านเหล่า อำเภอแม่ใจ
ทิศตะวันตก ติดต่อกับบ้านป่าแฝกเหนือ หมู่ที่ ๓ ตำบลเป่าแฝก
- ถนนเส้นทางติดต่อกับหมู่บ้านอื่น เป็นถนนลาดยาง
- ถนนเส้นทางหลักภายในหมู่บ้านเป็นถนนคอนกรีต ใช้การได้ดีตลอดทั้งปี
- หมู่บ้านมีถนนตลอดเส้นทางไปยังอำเภอหรือชุมชนที่ใกล้ที่สุดที่คนในหมู่บ้านส่วนมากไปซื้อ/ขาย ของกินของใช้ หรือติดต่อธุระ
- เส้นทางที่สะดวกที่สุดจากชุมชนของหมู่บ้านถึงอำเภอหรือชุมชนที่ใกล้ที่สุดรวมเป็นระยะทาง เป็นลาดยางยาว ๕ กิโลเมตร
- ใช้เวลาเดินทางจากหมู่บ้านไปยังอำเภอ/เขตหรือชุมชนที่ใกล้ที่สุดเพียงเที่ยวเดียว (ไม่นับเที่ยวกลับ) ด้วยพาหนะที่นิยมกัน ใช้เวลา ๑๐ นาที
- ขนาดพื้นที่ของหมู่บ้านมีพื้นที่ทั้งหมด ๒,๐๘๐ ตารางกิโลเมตร
มีจำนวนครัวเรือนทั้งหมด ๒๐๔ ครัวเรือน มีประชากรทั้งสิ้น ๕๘๘ คน แยกเป็น
ชาย ๒๖๙ คน
หญิง ๓๑๙ คน
- นับถือศาสนาพุทธ
- ใช้ภาษาไทย (ภาคกลาง)
- ความเชื่อ
มีการไหว้บรรพบุรุษ (เลี้ยงผีปู่ย่า พระภูมิเจ้าที่ ) ระหว่างเดือนพฤษภาคม - มิถุนายนของทุกปี เพื่อให้อยู่ร่มเย็นเป็นสุข
- ขนบธรรมเนียมประเพณี
ประเพณีรดน้ำดำหัวผู้สูงอายุ (วันปี๋ใหม่เมืองของทุกปี)
ประเพณีลอยกระทง (เดือนยี่เป็งของทุกปี)
ประเพณีเข้า - ออกพรรษา (เดือนกรกฎาคม และตุลาคมของทุกปี)
การประกอบอาชีพ
- อาชีพหลัก การเกษตร (ทำสวน ทำนา) จำนวน ๑๖๖ ครัวเรือน
- รับราชการ จำนวน ๑๑ ครัวเรือน
- รับจ้าง/บริการ จำนวน ๑๕ ครัวเรือน
- ค้าขาย จำนวน ๑๒ ครัวเรือน
ที่ตั้ง วัดพระธาตุจอมก้อ ตั้งอยู่บนเนินเขาลูกเล็กๆ ในเขตหมู่บ้านสันม่วงใหม่ หมู่ที่ ๖ ตำบล เจริญราษฎร์ อำเภอแม่ใจ จังหวัดพะเยา
เส้นทางแรก เดินทางจากที่ว่าการอำเภอแม่ใจไปตำบลศรีถ้อย ถึงบ้านป่าสัก หมู่ที่ ๖ เลี้ยวขวา ตรงทางแยกหน้าวัดศรีบุญชุม เดินทางตามเส้นทางถึงวัดพระธาตุจอมก้อ อีกเส้นทางหนึ่งถ้าเดินทางมาจากจังหวัดเชียงราย ถึงหมู่ที่ ๕ บ้านสันต้นม่วง ตำบลเจริญราษฎร์ เลี้ยวขวาหน้าที่ทำการหมวดการทางแม่ใจ ไปตามเส้นทาง ถึงวัดพระธาตุจอมก้อ
จากบันทึกและคำบอกเล่าของผู้เฒ่าผู้แก่เล่าสืบต่อกันมาว่าครั้งหนึ่งในอดีตกาลพระพุทธเจ้า พร้อมด้วยพระอานนท์ และอุบาสกอุบาสิกาได้เสด็จจากประเทศอินเดีย โดยเดินทางจากทิศเหนือลงมาทางใต้เดินทางรอนแรมมาจนถึงเนินเขาเล็กๆ ลูกหนึ่ง เมื่อตอนเช้ามืดและพักที่เนินเขานั้น ต่อมาชาวบ้านได้สร้างเจดีย์และวัดขึ้นเรียกชื่อว่า “วัดพระธาตุจอมรุ่ง” ซึ่งหมายถึงว่าพระพุทธเจ้าเสด็จมาพักที่เนินเขาลูกนี้ ตอนย่ำรุ่ง ปัจจุบันตั้งอยู่ ณ บ้านแม่เย็น ตำบลแม่เย็น อำเภอพาน จังหวัดเชียงราย จากนั้นได้เดินทาง มาทางทิศใต้จนถึงภูเขาลูกเล็กๆ อีกลูกหนึ่งในเวลาพลบค่ำ และได้ประทับค้างคืน ณ เนินเขาลูกนี้ ในตอนกลางคืนได้นำก้อนหินมาก่อเป็นเตาผิงไฟ รุ่งเช้าก่อนที่พระองค์จะเสด็จเดินทางต่อไปพระอานนท์และอุบาสิกาได้นำก้อนหินมาก่อเป็นเจดีย์เล็กๆ ไว้เพื่อเป็นอนุสรณ์ว่าครั้งหนึ่งพระพุทธเจ้าได้เสด็จมาประทับ ณ ที่แห่งนี้ จากบันทึกและการเล่าสืบต่อกันมาว่าวันที่พระพุทธองค์เสด็จ ตรงกับวันขึ้น ๗ ค่ำ เดือน ๙ (เดือน ๗ เหนือ) ซึ่งต่อมาชาวบ้านได้ถือเอาที่แห่งนี้เป็นที่สักการะและเรียกว่า “พระธาตุจอมก้อ” จากภาษาล้านนา คำว่า “พระธาตุ” หมายถึง เจดีย์ คำว่า “จอม” หมายถึง เนินเล็กๆ และคำว่า “ก้อ” หมายถึงการก่อ
ต่อมาในปีพุทธศักราช ๒๓๗๐ ได้มีพระภิกษุจากวัดศรีถ้อย (ปัจจุบันชื่อวัดโพธาราม ตั้งอยู่หมู่ที่ ๒ ตำบลศรีถ้อย) ได้นำชาวบ้านไปก่อเจดีย์สวมไว้เพื่อให้เป็นที่สักการะของชาวบ้าน และอนุรักษ์ป่าบริเวณนั้นไว้เป็นพุทธสถาน
ปีพุทธศักราช ๒๔๕๘ เจดีย์ได้พังลงมาพระอธิการอภิชัย วรรณจักร ได้นำชาวบ้านมาสร้างเจดีย์ทรงล้านนาประดับด้วยลวดลายล้านนาสมัยเก่า มีความกว้างประมาณ ๗ เมตร สูง ๑๓ เมตร พร้อมกับสร้างศาลาบำเพ็ญบุญเพื่อสะดวกต่อชาวบ้านมาร่วมทำบุญเป็นประจำทุกปีซึ่งถือเอาวันที่พระพุทธเจ้าเสด็จมาประทับค้างคืน คือวันขึ้น ๗ ค่ำ เดือน ๙ (เดือน ๗ เหนือ) เดินทางมาพักแรมที่พระธาตุเพื่อร่วมปฏิบัติธรรม รุ่งขึ้นวันขึ้น ๘ ค่ำ เดือน ๙ เหนือ ทำบุญตักบาตรและสรงน้ำพระธาตุเป็นประเพณีที่ปฏิบัติสืบต่อกันมา
พระธาตุจอมก้อได้มีพระภิกษุสงฆ์อยู่ปฏิบัติธรรมประจำตลอดมาและมีพุทธศาสนิกชนชาวบ้านที่อยู่บริเวณใกล้พระธาตุ เช่น ชาวบ้าน ตำบลศรีถ้อย ตำบลเจริญราษฎร์ และชาวเขาเผ่าต่าง ๆ มาร่วมทำบุญและสักการะทุกวันพระและงานประเพณีสรงน้ำพระธาตุเป็นประจำทุกปี ในปีพุทธศักราช 2534 พระเสน่ห์ ธมฺมธโร สังกัดวัดโพธาราม ต.ศรีถ้อย ได้ขึ้นมาปฏิบัติธรรมและจำพรรษารักษาการเจ้าสำนัก ฯ ซึ่งขณะนั้นองค์พระธาตุได้ชำรุดทรุดโทรมตามกาลเวลาจำเป็นต้องบูรณะปฎิสังขรณ์
ต่อมา ปี พุทธศักราช 2540 พระครูมานัสนทีพิทักษ์ เจ้าคณะอำเภอแม่ใจ ในขณะนั้นได้นำพุทธศาสนิกชนผู้มีจิตศรัทธาทั้งหลาย และมี คุณบุญเชิด ประดิษฐผลพานิชย์ คุณชาญชัย ภู่รักษ์เกียรติ์ คุณพิบูลย์ อัมพุฒ (ช่างพิบูลย์) คุณสมบัติ ดูเบย์ เจ้รีย์ (ร้านแหลมทอง-พะเยา) พร้อมด้วยคณะ ร่วมใจกันบูรณะปฎิสังขรณ์ขึ้นใหม่ โดยมีความกว้าง 9 เมตร สูง 19 เมตรซึ่งสร้างครอบพระธาตุองค์เดิมไว้ เริ่มบูรณะเมื่อวันศุกร์ที่ 2 พฤษภาคม พ.ศ. 2540 ตรงกับ แรม 10 เดือน 8 เหนือ เป็นวันวางศิลาฤกษ์ วันพุธ ที่ 10 กันยายน พ.ศ. 2540 ยกยอดฉัตร สร้างเสร็จและฉลองเมื่อ วันอาทิตย์ที่ 23 พฤษภาคม พ.ศ. 2542 ตรงกับวันขึ้น 8 ค่ำ เดือน 9 เหนือ สิ้นงบประมาณทั้งหมด 1,300,000 บาท (หนึ่งล้านสามแสนบาทถ้วน)
ปัจจุบันมีพระเสน่ห์ ธมฺมธโร อายุ 46 ปี พรรษา 18 รักษาการเจ้าสำนักฯ และได้ขึ้นทะเบียนเป็นวัดต่อกรมการศาสนาเรียบร้อยแล้ว เป็นโบราณสถานที่มีคุณค่ามีความสำคัญทางด้านศิลปวัฒนธรรม เป็นปูชนียสถานที่ชาวอำเภอแม่ใจนับถือสักการะยึดเหนี่ยวจิตใจ เป็นสถานที่เหมาะแก่การประพฤติปฏิบัติธรรมของพุทธศาสนิกชนทั่วไป สมควรที่จะอนุรักษ์บำรุงรักษาให้มั่นคงถาวรสืบต่อไป
ที่ตั้ง วัดพระธาตุมุงเมืองเป็นวัดในสังกัดมหานิกาย ตั้งอยู่ที่บ้านสันม่วงใหม่ หมู่ที่ 6 ตำบลเจริญราษฎร์ อำเภอแม่ใจ จังหวัดพะเยา อยู่ห่างจากที่ว่าการอำเภอแม่ใจ 2 กิโลเมตร และห่างจากตัวเมืองพะเยา 33 กิโลเมตร
ตามตำนานที่เล่าสืบต่อกันมา วัดพระธาตุมุงเมืองเป็นวัดที่สร้างขึ้นในสมัยพ่อขุนรามคำแหง โดยเจ้าเมืองขณะนั้นคือ ท่านพ่อขุนคำลือ ทั้งนี้มีตำนานเล่าสืบต่อกันมาว่า เดิมสถานที่ตั้งวัดพระธาตุมุงเมืองในปัจจุบันเป็นสถานที่ของหมู่บ้านใช้สำหรับปั้นก้อนอิฐ เพื่อส่งให้เจ้าเมือง ต่อมาเจ้าเมืองคือ ท่านพ่อขุนคำลือ ได้มีความยินดีในราชสมบัติ มีความประสงค์จะขยายเมืองให้กว้างขวางยิ่งขึ้น กำหนดให้มีการสร้างประตูเมืองและกำแพงเมืองล้อมรอบ ได้นำความนี้ไปปรึกษากับพระมเหสี ซึ่งมีความประสงค์เช่นเดียวกัน ดังนั้น จึงมีรับสั่งให้ชุมชนและเมืองต่าง ๆ ที่เป็นเมืองขึ้นได้ส่งก้อนอิฐมาเพื่อสร้างเมือง แต่ในขณะนั้นสถานที่ที่ตั้งวัดพระธาตุมุงเมืองในปัจจุบัน ซึ่งหมู่บ้านใช้เป็นสถานที่สำหรับปั้นก้อนอิฐได้เกิดน้ำท่วม ทำให้ไม่สามารถปั้นก้อนอิฐไปส่งให้เจ้าเมืองภายในเวลาที่กำหนดได้ เป็นเหตุให้พระมเหสีไม่พอพระทัย มิยอมอยู่ร่วมตำหนักกับเจ้าเมือง เจ้าเมืองจึงมีความโกรธมากต่อช่างผู้ปั้นก้อนอิฐ ต้องการจะทำการประหารชีวิตช่างปั้นอิฐทุกคนด้วยตนเอง จึงได้เดินลุยน้ำมา เนื่องจากขณะนั้นมีน้ำท่วมมากหลังจากเดินมาได้สักพักก็ทรงเหนื่อยเกิดความอ่อนเพลีย ขณะนั้นเป็นช่วงเวลากลางวัน ช่างปั้นก้อนอิฐซึ่งอยู่ระหว่างพักกลางวันได้นำซึง(เครื่องดนตรีพื้นบ้าน)มาดีด เจ้าเมืองได้ฟังและง่วงหลับไป หลังจากเจ้าเมืองตื่นขึ้นมาแล้ว มีความรู้สึกว่าพระองค์ไม่ได้มีความสบายใจเช่นนี้มานานแล้ว จึงมีความคิดที่จะพัฒนาบริเวณนั้นให้เป็นที่ร่มรื่นสุขสงบ โดยกำหนดให้เป็นวัด และได้เริ่มสร้างพระเจดีย์ไว้เพื่อเป็นที่นิมิตแห่งพระศาสนา และความสุขสงบแก่ผู้มาเยือนซึ่งก็คือ พระธาตุมุงเมือง ปัจจุบันอยู่บริเวณหลังพระอุโบสถวัดพระธาตุมุงเมืองนั่นเอง
วัดพระธาตุมุงเมืองได้ผ่านความเจริญและความชำรุดทรุดโทรมมาเป็นลำดับสำหรับวัดพระธาตุมุงเมืองปัจจุบัน ได้มีการบูรณปฏิสังขรณ์เมื่อปี พ.ศ. 2479 ปัจจุบันมีพระครูพิสาลสุนทรกิจ เป็นเจ้าอาวาส มีพระสงฆ์จำนวน 5 รูป สารเณร จำนวน 2 รูป
พระเจดีย์ซึ่งมีประวัติความเป็นมายาวนาน เป็นที่เคารพสักการะของประชาชนในเขตตำบลเจริญราษฎร์ อำเภอแม่ใจ และบริเวณใกล้เคียง พระเจดีย์พระธาตุมุงเมืองมีความศักดิ์สิทธ์ ราษฎรบ้านสันม่วงใหม่ ซึ่งเป็นที่ตั้งวัด หลายคน หลายวัน ได้เคยเห็นอภินิหารจากพระเจดีย์พระธาตุมุงเมืองทั้งในอดีตจนมาถึงปัจจุบัน จากการสอบถามผู้ประสบเหตุการณ์ การเห็นลูกแก้ว – แสงพระธาตุบริเวณพระธาตุมุงเมือง ซึ่งเป็นไปตามที่ผู้เฒ่าผู้แก่ได้บอกต่อกันมาว่าลูกแก้ว – แสงพระธาตุ มักจะออกเที่ยวหากันตามพระธาตุที่มีแก้ว – แสงพระธาตุอยู่อาทิ
แม่อุ้ยแก้ว อินตะหมุด และแม่จันทร์ผล จิตรักชาติ เคยเห็นตั้งแต่สมัยหลวงพ่ออ้ายจะมาบูรณะวัดมองเห็นลูกแก้วมีสีเขียวและสีแดงลอยไปทางทิศตะวันออก เวลาประมาณ 21.00-22.00 น. โดยลูกแก้วจะลอยวนเวียนขึ้นลงหลายครั้งสวยงามมากมีแสงสว่างสดใส เปล่งประกายสลับสีต่าง ๆ
นางแสงสม ศรีธินนท์ เคยเห็นดวงแก้ว 3 ลูกเป็นรุ้งกินน้ำ ลอยมาช้า ๆ ลอยมาที่ต้นฉำฉาหน้าบ้าน ประมาณ 15 นาที เคยเห็นหลายครั้งในปี พ.ศ.2530
นางภัทราภรณ์ ใจปัญญา เคยเห็นเมื่อสิบกว่าปีก่อน ในคืนวันพระเวลาประมาณ 21.00 น เห็นแก้วสีเขียวสว่างไสว ลอยขึ้นมาจากพระธาตุฯ ไปทางทิศตะวันตกเฉียงเหนือแล้วหายวับไป
นางอุสา ภาชนนท์ เห็นลูกแก้วเป็นสีเขียวครั้งแรกเมื่ออายุ 16 ปี ในวันแรม 15 ค่ำ และวันขึ้น 15 ค่ำ เวลาประมาณ 21.00 น. เห็นหลายครั้งในปี พ.ศ. 2518, พ.ศ. 2528 และพ.ศ. 2550
นายชัยศักดิ์ นางกาญจนา ชูเลิศ มีบ้านและสวนติดกับวัด ได้เห็นปรากฏการณ์เมื่อปีพ.ศ. 2538 เห็นลูกไฟขนาดใหญ่ลอยจากพระธาตุมุงเมืองไปทางตะวันตก ไปทางพระธาตุจอมก้อ ลอยอยู่นาน ลอยไปจนถึงวัดพระธาตุจอมก้อหลังจากนั้นเคยเห็นดวงไฟในลักษณะเดียวกันในบริเวณ วัดหลายครั้ง
หลวงพ่อหิน เป็นพระพุทธรูปศิลาโบราณ เป็นพระพุทธรูปเก่าแก่ประจำอยู่ที่วัดพระธาตุมุงเมืองมาเป็นเวลานานแล้ว มีความศักดิ์สิทธิ์มาก ผู้ที่ประสบปัญหาในการดำเนินชีวิต สามารถไปขอพรจากหลวงพ่อหิน โดยนำพวงมาลัยดอกมะลิ จำนวน 10 พวง ไปกราบไหว้บูชา ก็จะสมประสงค์ในสิ่งที่ตนคาดหวังไว้ทุกประการ
ตั้งอยู่ห้วยป่ากล้วยหมู่ที่ 6 บ้านสันม่วงใหม่ ตำบลเจริญราษฎร์เนื่องจากน้ำตกดังกล่าวยังไม่ได้รับการพัฒนาเป็นแหล่งท่องเที่ยว การเดินทาง จึงอาศัยถนนหมู่บ้านเป็นเส้นทางเดินทาง ซึ่งเดินทางได้ 2 เส้นทาง คือ จากที่ว่าการอำเภอแม่ใจเดินทางไปยังตำบลศรีถ้อย ถึงบ้านป่าสัก หมู่ที่ 5 เลี้ยวขวาที่ทางแยก เข้าวัดศรีบุญชุม เดินทางถึงวัดพระธาตุจอมก๊อ และไปตามเส้นทางเรื่อย ๆ จนถึง น้ำตกห้วยป่ากล้วยอีกเส้นทางหนึ่ง ถ้าหากเดินทางมาจากจังหวัดเชียงราย เดินทางถึง ตำบลเจริญราษฎร์ หมู่ที่ 5 บ้านสันต้นม่วง เลี้ยวขวาข้างที่ทำการหมวดการทางแม่ใจ ไปยังหมู่ที่ 6 บ้านสันม่วงใหม่ ถึงวัดพระธาตุจอมก๊อ เดินทางตามเส้นทางถึง น้ำตก ห้วยป่ากล้วย น้ำตกห้วยป่ากล้วย เป็นน้ำตกที่ไม่สูงมากนัก ยังคงสภาพป่าธรรมชาติอย่างสมบูรณ์ เนื่องจากยังไม่มีผู้รู้จักและมาท่องเที่ยวมากนัก
งานป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย
โรงเรียนผู้สูงอายุ
ศูนย์พัฒนาเด็กเล็ก
ระบบข้อมูลข่าวสาร