นายกเทศมนตรี
ปลัดเทศบาล
ข้อมูลทั่วไป
ข่าวประชาสัมพันธ์
การปฏิสัมพันธ์ข้อมูล
แผนการดำเนินงานประจำปี
การให้บริการ
แผนการใช้จ่ายงบประมาณประจำปี
การจัดซื้อจัดจ้างหรือการจัดหาพัสดุ
การบริหารและพัฒนาทรัพยากรบุคคล
การจัดการเรื่องร้องเรียนการทุจริตและประพฤติมิชอบ
การจัดการเรื่องร้องเรียน-ร้องทุกข์
การเปิดโอกาสให้เกิดการมีส่วนร่วม
การป้องกันการทุจริต
แผนป้องกันการทุจริต
มาตรการส่งเสริมความโปร่งใสและป้องกันการทุจริตภายในหน่วยงาน
แผนพัฒนาท้องถิ่น
เทศบัญญัติ
อำนาจหน้าที่ของเทศบาลตำบลเจริญราษฎร์
อำนาจหน้าที่ของเทศบาลตำบลเจริญราษฎร์
การพัฒนาท้องถิ่นของเทศบาลตำบลเจริญราษฎร์นั้น เป็นการสร้างกระบวนการมีส่วนร่วมของชุมชนในการร่วมคิดร่วมแก้ไขปัญหา ตลอดจนร่วมสร้างร่วมส่งเสริมความเข้มแข็งของชุมชนในเขตพื้นที่ตำบลเจริญราษฎร์ ให้มีส่วนร่วมในการพัฒนาท้องถิ่นในทุกด้าน การพัฒนาเทศบาลตำบลเจริญราษฎร์จะสมบูรณ์ได้จำเป็นต้องอาศัยความร่วมมือของชุมชนในพื้นที่เกิดความตระหนักร่วมกันในการแก้ไขปัญหาและมีความเข้าใจ ในแนวทางแก้ไขปัญหาร่วมกันอย่างจริงจัง เทศบาลตำบลเจริญราษฎร์ยังได้เน้นให้คนเป็นศูนย์กลางของการพัฒนา นอกจากนี้ ยังได้เน้นการส่งเสริมและสนับสนุนให้การศึกษาเด็กก่อนวัยเรียนพัฒนาเยาวชนให้พร้อมที่จะเป็นบุคลากรที่มีคุณภาพ โดยยึดกรอบแนวทางในการจัดการศึกษาให้เป็นไปตามมาตรฐานการศึกษา ส่วนด้านการพัฒนาอาชีพนั้นจะเน้นพัฒนาเศรษฐกิจชุมชนพึ่งตนเองในท้องถิ่น
การวิเคราะห์ภารกิจ อำนาจหน้าที่ของเทศบาลตำบลเจริญราษฎร์ตามพระราชบัญญัติเทศบาล พ.ศ. ๒๔๙๖ พระราชบัญญัติกำหนดแผนและขั้นตอนการกระจายอำนาจให้องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น พ.ศ. ๒๕๔๒ และกฎหมายอื่นของเทศบาล ใช้เทคนิค SWOT เข้ามาช่วย ทั้งนี้ เพื่อให้ทราบว่าเทศบาลตำบลเจริญราษฎร์มีอำนาจหน้าที่ที่จะเข้าไปดำเนินการแก้ไขปัญหาในเขตพื้นที่ให้ตรงกับความต้องการของประชาชนได้อย่างไร โดยวิเคราะห์จุดแข็ง จุดอ่อน โอกาส ภัยคุกคามในการดำเนินการภารกิจตามหลัก SWOT เทศบาลตำบลเจริญราษฎร์กำหนดวิธีการดำเนินการตามภารกิจสอดคล้องกับแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ แผนพัฒนาจังหวัด แผนพัฒนาอำเภอ แผนพัฒนาตำบล นโยบายของรัฐบาลและนโยบายของผู้บริหารท้องถิ่น ทั้งนี้ สามารถวิเคราะห์ภารกิจให้ตรงกับสภาพปัญหาโดยสามารถแบ่งภารกิจได้เป็น ๗ ด้าน ซึ่งภารกิจดังกล่าว ถูกกำหนดอยู่ในพระราชบัญญัติเทศบาล พ.ศ. ๒๔๙๖ และตามพระราชบัญญัติกำหนดแผนและขั้นตอนการกระจายอำนาจให้องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น พ.ศ. ๒๕๔๒ ดังนี้
ด้านโครงสร้างพื้นฐาน มีภารกิจที่เกี่ยวข้อง
1. การจัดให้มีและบำรุงรักษาทางบกทางน้ำ และทางระบายน้ำ มาตรา 50(2)
2. การสาธารณูปโภคและการก่อสร้างอื่นๆ มาตรา 16(4)
3. การสาธารณูปการ มาตรา 16(5)
4. การจัดให้มีน้ำสะอาดเพียงพอต่อการอุปโภค บริโภค มาตรา 51(1)
5. การจัดให้มีโรงฆ่าสัตว์ มาตรา 51(2)
6. การจัดให้มีตลาด มาตรา 51(3)
7. การจัดให้มีสุสานและฌาปนสถาน มาตรา 51(4)
8. การจัดให้มีและบำรุงการไฟฟ้าหรือแสงสว่างโดยวิธีอื่น มาตรา 51(7)
9. การควบคุมอาคาร มาตรา 16(28)
ด้านส่งเสริมคุณภาพชีวิต มีภารกิจที่เกี่ยวข้อง
1. ป้องกันโรคและระงับโรคติดต่อ มาตรา 50(4)
2. การส่งเสริมการพัฒนาสตรี เด็ก เยาวชน ผู้สูงอายุและผู้พิการ มาตรา 50(7)
3. การบำรุงและส่งเสริมการทำมาหากินของประชาชน มาตรา 51(5)
4. การให้มีและบำรุงสถานที่ทำการพิทักษ์รักษาคนเจ็บไข้ มาตรา 51(6)
5. การส่งเสริมการฝึกและประกอบอาชีพ มาตรา 16(6)
6. การจัดการศึกษา มาตรา 16(9)
7. การสังคมสงเคราะห์และการพัฒนาคุณภาพชีวิตเด็ก สตรี คนชรา และด้อยโอกาส มาตรา 16(10)
8. การจัดให้มีและบำรุงรักษาสถานที่พักผ่อนหย่อนใจ มาตรา 16(13)
9. การส่งเสริมกีฬา มาตรา 16(14)
10. การส่งเสริมประชาธิปไตย ความเสมอภาคและสิทธิเสรีภาพของประชาชน มาตรา 16(15)
11. การส่งเสริมการมีส่วนร่วมของราษฎรในการพัฒนาท้องถิ่น มาตรา 16(16)
12. การสาธารณสุข การอนามัยครอบครัวและการรักษาพยาบาล มาตรา 16(19)
ด้านการบริหารจัดการและการอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม
1. การรักษาความสะอาดของถนน ทางน้ำ ทางเดิน และที่สาธารณะ รวมทั้งกำจัด มูลฝอยและสิ่งปฏิกูล มาตรา 51(3)
2. การจัดการ การบำรุงรักษาและการใช้ประโยชน์จากป่าไม้ ที่ดิน ทรัพยากรธรรมชาติ และสิ่งแวดล้อม มาตรา 16(24)
3. การดูแลรักษาที่สาธารณะ มาตรา 16(27)
ด้านการศาสนา ศิลปวัฒนธรรม จารีตประเพณี และภูมิปัญญาท้องถิ่น
1. บำรุงรักษาศิลปะ จารีตประเพณี ภูมิปัญญาท้องถิ่น และวัฒนธรรมอันดีของท้องถิ่น มาตรา 16(11)
2. ส่งเสริมการศึกษา ศาสนา และวัฒนธรรม มาตรา 16(9)
3. การจัดการศึกษา
4. การส่งเสริมการกีฬา จารีตประเพณี และวัฒนาธรรมอันดีงามของท้องถิ่น
ด้านการบริหารจัดการและการสนับสนุนการปฏิบัติภารกิจของส่วนราชการ และองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น
1. สนับสนุนเทศบาลตำบลและองค์กรปกครองส่วนท้องงถิ่นอื่นในการพัฒนาท้องถิ่น สนับสนุน หรือช่วยเหลือส่วนราชการหรือองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นอื่นในการพัฒนาท้องถิ่น
2. ประสานและให้ความร่วมมือในการปฏิบัติหน้าที่ของเทศบาลตำบล และองค์กร ปกครองส่วนท้องถิ่นอื่น
3. การแบ่งสรรเงินซึ่งตามกฎหมายจะต้องแบ่งให้แก่เทศบาลตำบลและองค์กรปกครอง ส่วนท้องถิ่นอื่น
4. การให้บริการแก่เอกชน ส่วนราชการ หน่วยงานของรัฐ รัฐวิสากิจ หรือองค์กร ปกครองส่วนท้องถิ่นอื่น
ภารกิจหลัก และภารกิจรอง ที่เทศบาลจะดำเนินการ
เทศบาลตำบลเจริญราษฎร์แล้วพิจารณาเห็นว่าภารกิจหลักและภารกิจรอง ที่ต้องดำเนินการให้สอดคล้องกับความต้องการของประชาชน ให้ครอบคลุมทั่วถึง ได้แก่
1. การให้มีบำรุงทางบกและทางน้ำ
2. การรักษาความสะอาดของถนนหรือทางเดินและที่สาธารณะ รวมทั้งการกำจัดขยะมูล ฝอยสิ่งปฏิกูลและน้ำเสีย
3. การรักษาความสะอาดและความเป็นระเบียบเรียบร้อยของบ้านเมือง
4. การป้องกันและระงับโรคติดต่อ
5. การให้มีเครื่องใช้ในการดับเพลิง
6. การให้ราษฎรได้รับการศึกษาอบรม
7. การส่งเสริมพัฒนาสตรี เด็ก เยาวชน ผู้สูงอายุ และผู้พิการผู้ด้อยโอกาส
8. การสังคมสงเคราะห์ และการพัฒนาคุณภาพชีวิตเด็ก สตรี คนชรา และผู้ด้อยโอกาส
9. การบำรุงรักษาศิลปะ จารีตประเพณี ภูมิปัญญาท้องถิ่นและวัฒนธรรมอันดีของท้องถิ่น
10. การให้มีโรงฆ่าสัตว์ การจัดให้มีและควบคุมการฆ่าสัตว์
11. การจัดให้มีและควบคุมตลาด ท่าเทียบเรือ ท่าข้าม และที่จอดรถ
12. การบำรุงและส่งเสริมการทำมาหากินของราษฎร
13. การให้มีและบำรุงไฟฟ้าหรือแสงสว่าง
14. การให้มีและบำรุงทางระบายน้ำ
15. การสาธารณูปโภคและการก่อสร้างอื่น ๆ
16. การสาธารณูปการ
17. การสาธารณูปโภคและการก่อสร้างอื่น ๆ ส่งเสริม การฝึกและการประกอบอาชีพ
18. การส่งเสริมการท่องเที่ยว
19. การจัดให้มีและบำรุงรักษาสถานที่พักผ่อนหย่อนใจ
20. การส่งเสริมการกีฬาและนันทนาการ
21. การส่งเสริมประชาธิปไตย ความเสมอภาคและสิทธิเสรีภาพของประชาชน
22. การส่งเสริมการมีส่วนร่วมของราษฎรในการพัฒนาท้องถิ่น
23. การสาธารณสุข การอนามัยครอบครัว และการรักษาพยาบาล
24. การจัดการบำรุงรักษา และการใช้ประโยชน์จากทรัพยากรธรรมชาติและ สิ่งแวดล้อม
25. การผังเมือง
26. การดูแลรักษาที่สาธารณะ
27. การควบคุมอาคาร
28. การป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย
29. การพัฒนาบุคลากรและทรัพยากรมนุษย์
30. การพัฒนาการบริหารเทศบาลและการพัฒนาการเมืองการบริหาร
ภารกิจรอง
1. การให้มีน้ำสะอาดหรือากรประปา
2. การจัดให้มีและควบคุมสุสาน และฌาปนสถาน
3. การให้มีและบำรุงสถานที่ทำการพิทักษ์รักษาคนเจ็บไข้
4. การพาณิชย์และส่งเสริมการลงทุน
5. การจัดการศึกษา
6. การปรับปรุงแหล่งชุมชนแออัดและการจัดการเกี่ยวกับที่อยู่อาศัย
7. การควบคุมการเลี้ยงสัตว์
8. การรักษาความปลอดภัย ความเป็นระเบียบเรียบร้อยและการอนามัยโรงมหรสพและ สาธารณสถานอื่น ๆ
9. การจัดการการบำรุงรักษาและการใช้ประโยชน์จากป่าไม้ ที่ดิน ทรัพยากรธรรมชาติ และสิ่งแวดล้อม
10. การรักษาความสงบเรียบร้อยของประชาชน การส่งเสริมและสนับสนุนการป้องกัน และรักษาความปลอดภัยในชีวิตและทรัพย์สิน
งานป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย
โรงเรียนผู้สูงอายุ
ศูนย์พัฒนาเด็กเล็ก
ระบบข้อมูลข่าวสาร